(This page uses CSS style sheets)
การแปลเนื้อหาในหน้าสไตล์และ CSS รวมทั้งหน้าอื่นๆในเว็บ W3C แปลโดย อาสาสมัคร ซึ่งงานบางชิ้นเป็นงานแปลที่มีคุณภาพสูงมาก ขณะที่งานแปลบางส่วนอาจมีคุณภาพลดหลั่นลงไป โดยหน้าเอกสารแปลมักจะมีเนื้อหาที่เก่ากว่าหน้าต้นฉบับ
หากท่านมองหาคำแปลสำหรับ สเปกทางเทคนิค ท่านควรหาที่ ฐานข้อมูลเอกสารแปล งานแปลบางชิ้น เช่นเดียวกับหน้านี้ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเป็นบางครั้ง จะถูกลิ้งโดยตรงจากหน้าภาษาอังกฤษ และไม่ปรากฎในฐานข้อมูล
หากท่านพบข้อผิดพลาดที่หน้าใดๆ กรุณา แจ้งให้เราทราบ
ขอขอบคุณท่านผู้แปลทุกท่านอย่างยิ่ง!
หากท่านต้องการช่วยแปลหน้าเอกสารใด สามารถแจ้งความต้องการโดยส่งเมล์คำขอไปที่ คลังจดหมายข่าวผู้แปล <w3c-translators@w3.org>.
ท่านไม่จำเป็นต้องเป็นนักแปลอาชีพ เราเพียงต้องการการแปลจากผู้ที่ใช้ภาษานั้นๆเป็นภาษาหลัก เพื่อให้งานแปลที่ได้มีคุณภาพเท่านั้น กรุณาอย่างส่งงานแปลที่ได้จาก การแปลโดยใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์แปลอื่นๆ อันจะทำให้งานแปลที่ได้มีคุณภาพต่ำ
งานแปลส่วนมากจะไม่ได้ถูกเก็บที่เว็บ W3C หากท่านมีเว็บที่สามารถเก็บงานแปลของท่านได้ เราจะทำการลิ้งไปที่งานแปลของท่าน แต่ในบางกรณีที่ท่านต้องการให้เราเก็บงานแปลของท่านไว้ เราสามารถเก็บงานแปลของท่านไว้ที่เว็บของ W3C ได้
เราต้องการ ลื้งถาวร ดังนั้นหากท่านเชื่อว่าอาจมีการเปลี่ยนที่ตั้งของหน้าเอกสารแปลในภายหน้า ท่านอาจพิจารณาที่จะเก็บงานแปลของท่านไว้ที่เว็บ W3C
เพื่อให้เป็นการง่ายต่อผู้อ่าน ท่านควรใช้การจัดหน้าแบบเดียวกับหน้าต้นฉบับ โดยใช้สไตล์ชีทเดียวกันกับหน้าเอกสารต้นฉบับ ซึ่งสามารถทำได้สองวิธี:
การใช้ลิ้งสไตล์ชีทจากเว็บ W3C โดยตรง สามารถทำได้โดยเปลี่ยนลิ้งสไตล์ชีทให้เป้นลิ้งของ W3C ตัวอย่างเช่น
<link rel=stylesheet title="Gold + navbar" href="threepart-f.css"...
เป็น
<link rel=stylesheet title="Gold + navbar" href="http://www.w3.org/Style/threepart-f.css"...
กรณีที่สองหากท่านต้องการคัดลอกสไตล์ชีทไปไว้ที่เว็บของท่าน ให้ท่านทำการแปลที่ถูกต้องสำหรับคำเหล่านี้ในไฟล์ threepart.css ด้วย เพราะคำสั่งที่ใช้ในสไตล์ชีทบางคำสั่งจะแสดงผลตามภาษาของผู้ใช้ ในที่นี้ คือ “Local links” ซึ่งท่านจะเห็นในส่วนบนขวาของหน้านี้
โดยทำการแก้ไขที่บรรทัดดังต่อไปนี้:
div.map:lang(en):before {content: "Local links"}
โดย “en” ต้องแทนด้วย รหัสภาษา (อ่านในหัวข้อถัดไป) ของภาษาที่ท่านแปล และความหมายในภาษาของท่าน
กรณีที่ท่านใช้สไตล์ชีทจากเว็บ W3C โดยตรง กรุณาแจ้งคำแปลของคำเหล่านี้ในภาษาของท่านมาที่ เรา เพื่อที่เราจะได้เพิ่มเข้าไปในสไตล์ชีทหลัก
ในบางกรณีซึ่งพบได้น้อยมาก อาจจำเป็นต้องทำการแก้ไขคำสั่งในสไตล์ชีทสำหรับภาษาบางภาษา
หน้าเว็บเพจทุกหน้าควรถูกกำหนดด้วยภาษาเดียวกับที่ใช้ในหน้านั้น โดยเฉพาะหน้าแปลของเอกสาร จากเว็บ W3C เพราะว่าในหน้าเอกสารของ W3C นั้นมีการใช้สไตล์ชีทที่ขึ้นกับภาษาอยู่ด้วย
อย่างน้อยที่สุด หน้าแปลควรมีการใช้คำสั่งดังต่อไปนี้หลังคำสั่ง “doctype” :
<html lang="xy">
โดย “xy” แทนด้วยแท็กย่อย รหัสภาษาแบบ 2 อักษร สำหรับภาษาของท่าน หากภาษาที่ท่านแปลไม่มีรหัสแบบ 2 อักษร กรุณาใช้รหัสภาษาแบบ 3 อักษร
โดยทั่วไปข้อความแปลควรที่จะใช้แท็กเดียวกับหน้าต้นฉบับ แต่อาจ มีการเปลี่ยนแท็กในบางประโยคตามความจำเป็น เช่น เพื่อการลำดับคำในบางภาษา
เมื่อท่านต้องการเก็บหน้าเอกสารแปลไว้ที่เว็บของท่าน ท่านต้องปฏิบัติตามคำแนะนำด้านล่างนี้
การเข้ารหัสภาษาจะช่วยให้การแสดงข้อความบนหน้าเว็บถูกต้อง การเข้ารหัสภาษาเป็นการแปลงตัวอักษรแต่ละตัวเป็นข้อมูลไบท์เพื่อให้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ หากท่านใช้การเข้ารหัสภาษาที่ไม่ถูกต้อง เบราเซอร์อาจทำการแสดงตัวอักษรที่ไม่ถูกต้องได้ ถึงแม้ผู้อ่านสามารถเลือกชนิดการเข้ารหัสภาษาที่ต้องการใช้ได้โดยการปรับในเบราเซอร์ก็ตาม การเลือกใช้การเข้ารหัสภาษาที่ถูกต้องแต่แรกจะเป็นการเหมาะสมที่สุด เพื่อให้เบราเซอร์สามารถแสดงภาษาที่ถูกได้ตั้งแต่แรก และเป็นการทำให้เอกสารของท่าน ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง (ดู ด้านล่าง) อีกด้้วย
การเข้ารหัสภาษาโดยทั่วไปจะเป็น ASCII, ISO-8859-1, UTF-8 และ Windows-1252 แต่ยังมีค่าอื่นๆอีกมากมาย เมื่อท่านสร้างหน้าเอกสาร มันจะทำการเข้ารหัสตามการเข้ารหัสของเครื่องที่ท่านใ้ช้้ หรือเข้ารหัสเป็น UTF-8.
มีสองวิธีที่จะบอกเบราเซอร์ว่าหน้าเอกสารของท่านเข้ารหัสอะไร วิธีีที่ดีที่สุดทำโดยกำหนดการเข้ารหัสที่ท่านจะใช้ไว้ที่เว็บเซิฟเวอร์โดยตรง ซึ่งถ้าท่านตั้งค่าไว้ถูกต้อง เอกสารทุกอย่างที่ท่านอัพโหลดไว้ไม่ว่าเก่าหรือที่จะอัพโหลดใหม่จะถูกกำหนดการเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ ี
หากต้องการตรวจเช็คว่า เว็บเซิฟเวอร์ของท่านสามารถแจ้งการเข้ารหัสภาษาที่ถูกต้องหรือไม่ ทำได้โดย ใช้ ตัวตรวจสอบการเขียนเว็บของ W3C ซึ่งจะบอกว่าหน้าเอกสารของท่านมีการใช้การเข้ารหัสที่ผิด หรือขาดหายไปหรือไม่
ถ้าเว็บเซิฟเวอร์ของท่านไม่สามารถแจ้งการเข้ารหัสภาษาที่ถูกต้อง และท่านไม่อาจปรับแต่งค่าได้ ท่านสามารถกำหนดการเข้ารหัสภาษา โดยประกาศการเข้ารหัสภาษา ไว้ในหน้าเอกสาร โดยเพิ่มบรรทัดคำสั่งต่อไปนี้ในส่วน HEAD ของเอกสาร :
<meta http-equiv="Content-type" content="text/html;charset=utf-8">
โดยแทน “utf-8” ตามรหัสภาษาที่ต้องการ (หากไม่ใช่ utf-8).
สำหรับข้อมูลการเข้ารหัสภาษาเพิ่มเติม ดู การเข้ารหัสภาษา ในหน้าการกำหนดภาษาของ W3C
งานแปลส่วนมากจะใช้แท็กตามเอกสารต้นฉบับโดยต่างกันเพียงเนื้อหาเท่านั้น โดยมีข้อยกเว้นที่เกิดขึ้นได้น้อยมาก เช่น เมื่อแปลเอกสารเป็นภาษา “bidi” (สองทิศทาง) เช่น ฮิบรู หรืออาหรับ ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้งจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย ทำให้จำเป็นต้องเพิ่มแท็กพิเศษ เพื่อให้เบราเซอร์เข้าใจว่าจะให้แสดงผลข้อความแบบซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้าย
บทความ สิ่งที่ท่านต้องทราบ เกี่ยวกับอัลกอริททึ่มของ bidi และ inline markup โดย Richard Ishida อธิบายการใช้งานไว้โดยละเอียด ข้อแนะนำของ W3C(ซึ่งอยู่ในระหว่างพัมนา) ส่วนที่ 7 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดในการเขียน HTML: ในการใช้ภาษาที่อ่านจากขวาไปซ้าย
ลิขสิทธิ์ของ W3C อนุญาติให้ทุกคนสามารถแปลเอกสารของ W3C ได้ โดยมีเงื่อนไขว่า จะต้องทำลิ้งกลับไปยังหน้าเอกสารต้นฉบับไว้อย่างชัดเจน และท่านต้องอนุญาติใ้ห้ W3C สามารถเผยแพร่ หรือตีพิมพ์งานแปลของท่านซ้ำได้ ดู ส่วนที่ 5.7 คำถาม ตอบบ่อยๆ IPR
ลิ้งที่ชี้กลับไปยังหน้าเอกสารต้นฉบับต้องใช้ URL เต็ม โดยลงท้ายด้วย .html
(ตัวอย่าง.,
ไม่ควรใช้ลิ้ง http://www.w3.org/foo
,
แต่ต้องใช้ http://www.w3.org/foo.html
.) อ่าน คำอธิบายเพิ่มเติมในส่วน
การส่งหน้าเอกสารตามภาษาของผู้ใช้ ด้านล่าง
การใช้โลโก้ W3C มีกฎพิเศษบางอย่างคือ ต้องใช้ URL ต้นฉบับใน attribute SRC , ดังตัวอย่าง:
<a href="http://www.w3.org/"><img alt="W3C" src="http://www.w3.org/Icons/w3c_home"></a>
โดยทั่วไปแล้ว เซิร์ฟเวอร์ของ W3C จะส่งหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นหลัก และจะส่งหน้าเอกสารเป็นภาษาอื่นๆ เมื่อผู้อ่านทำการคลิกลิ้งไปยังหน้าภาษาที่ผู้อ่านต้องการ แต่ในบางกรณี (เช่น ในบางบทเรียน) จะตรงกันข้าม เซิร์ฟเวอร์ของ W3C จะทำการส่งหน้าเอกสารตามภาษาหลักที่ผู้อ่านกำหนดไว้ในเบราเซอร์ของผู้อ่าน และจะส่งหน้าภาษาอังกฤษเมื่อผู้อ่าน ต้องการชมหน้าภาษาอัังกฤษโดยคลิกไปยังหน้าภาษาอังกฤษ
กระบวนการส่งหน้าภาษาต่างๆโดยอัตโนมัตินี้ เรียกว่า การส่งหน้าเอกสารตามภาษาของผู้ใช้ (language negotiation)
ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งของ HTTP วิธีการทำงานของกระบวนการนี้ ทำโดยใช้ URL เดียวในการแสดงหน้าเอกสารทุกภาษา
URL ที่เราใช้ในกรณีนี้ คือ URL ที่ไม่มี .html
ลงท้าย โดยถ้าเราใช้หน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็น
http://www.w3.org/foo.html
หน้าสำหรับภาษาอื่นๆจะเป็น http://www.w3.org/foo
หากผู้อ่านคลิกลิ้งซึ่งเป็นลิ้งสำหรับภาษาอื่นๆ เซิฟเวอร์จะทำการตรวจดูภาษาที่ใช้บนเครื่องของผู้อ่าน (ซึ่งทำผ่านคำร้องขอของ HTTP) และตรวจเช็คว่ามีภาษาดังกล่าวบนเซิฟเวอร์หรือไม่ หากพบว่ามี จะทำการส่งหน้าเอกสารตามภาษานั้นๆไปยังผู้อ่าน แต่หากไม่มีจะทำการส่งหน้าภาษาอังกฤษแทน
เบราเซอร์หลายตัวอนุญาติให้ผู้ใช้สามารถ ปรับค่าภาษาที่จะใช้ ได้ (โดยสามารถเลือกได้มากกว่าหนึ่งภาษา)แต่จะมีค่าหลักเป็นค่าภาษาของตัวเบราเซอร์เอง
นั่นหมายความว่า ถ้าท่านต้องการลิ้งไปยังหน้าภาษา อังกฤษ เป็นการเฉพาะ
ท่านต้องลงท้ายหน้าเอกสารด้วย .html
ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว ขอให้เข้าใจว่าโดยทั่วไปแล้ว เซิร์ฟเวอร์ของ W3C จะส่งหน้าเอกสารภาษาอังกฤษเป็นหลัก
แม้ว่าลิ้งที่ชี้มาที่เอกสารจะไม่มี .html
ลงท้าย
ยกเว้นบางหน้าที่ทำการเปิดการทำงานของการส่งหน้าเอกสารตามภาษาของผู้ใช้ ทำให้สามารถส่งหน้าเอกสารแปลมาได้
เอกสารแปล และเอกสารเว็บอื่นๆ จำเป็นต้องเขียนตามหลักการ สอดคล้องกับสเปกของ HTML และ CSS ตัวตรวจสอบของ W3C สามารถตรวจสอบข้อผิดพลาดในการเขียนของหน้าเอกสารได้: โดยใช้ ตัวตรวจสอบ HTML ของ W3C ในส่วนของ HTML และ ตัวตรวจสอบ CSS ในส่วน CSS นิทานอีสป
แม้หน้าเอกสารที่มีการเขียนที่ผิดพลาดจะแสดงผลได้ถูกต้องก็ตาม แต่การเขียนหน้าเว็บให้ถูกต้อง จะมีประโยชน์ในการแสดงผลของเบราเซอร์ในอนาคต
สำหรับข้อมูลในการแปลเพิ่มเติมสามารถ ดูที่ งานแปลของ W3C